ตรวจหายีนส์เสี่ยง “โรคมะเร็ง” มรดกทางพันธุกรรม รู้ก่อน ป้องกันได้
ยีนส์เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งอย่างไร
โรคมะเร็ง เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งปัจจัยหลักจะเป็นพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น การสูบบุหรี่, ดื่มสุรา, การได้รับสารพิษในชีวิตประจำวัน, การกินสัตว์เนื้อแดงในปริมาณมาก, การกินอาหารปิ้งย่างบ่อย ๆ เป็นต้น แต่สาเหตุหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งได้เช่นกัน คือ พันธุกรรมหรือยีนส์ที่ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งถึงแม้การถ่ายทอดทางพันธุกรรมจะมีความเสี่ยงไม่เท่าพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่ถ้าตรวจเจอก่อนเราจะสามารถดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคได้
เราจะสามารถตรวจหาว่าเรามียีนส์ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้อย่างไร
การตรวจหายีนส์ที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งจะรวมอยู่ใน Premium DNA Test โดยสามารถตรวจจากการเก็บเนื้อเยื่อบริเวณกระพุ้งแก้มใช้เวลาแปลผลประมาณ 4 สัปดาห์ก็จะทราบผลว่าเรามียีนส์ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งหรือไม่
การตรวจยีนส์สามารถบอกโรคมะเร็งชนิดใดได้บ้าง
การตรวจยีนส์สามารถหาความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งได้ถึง 30 ประเภท โดยประเภทที่เด่น ๆ ได้แก่ มะเร็งเต้านม, มะเร็งรังไข่, มะเร็งตับ, มะเร็งลำไส้, มะเร็งกระเพาะอาหาร, มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ, มะเร็งเม็ดเลือด และมะเร็งไต เป็นต้น
การตรวจหายีนส์ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเหมาะกับใครบ้าง
การตรวจหายีนส์ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง เหมาะสำหรับคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งมาก่อน เพื่อหาว่าเราได้รับการถ่ายทอดยีนส์มะเร็งมากจากบรรพบุรุษหรือไม่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคนที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งมาก่อนก็สามารถมียีนส์ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้ เพียงแต่คนในครอบครัวอาจยังไม่แสดงอาการให้เห็น ดังนั้นการตรวจหายีนส์ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง จึงเหมาะกับทุก ๆ คนที่ต้องการทราบว่าเรามียีนส์ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งหรือไม่
เมื่อเราทราบว่ามียีนส์ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง เราควรจะดูแลตัวอย่างไร
การที่เราตรวจพบว่าเรามียีนส์ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเป็นโรคมะเร็งเสมอไป เพราะปัจจัยทางพันธุกรรมจะมีผลต่อการเกิดโรคแค่ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ แต่ปัจจัยที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคมีผลเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ทั้งนั้นการตรวจทราบว่า เรามียีนส์ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งจะทำให้เราตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ ลดพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงเพิ่ม เช่น ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา, รับประทานอาหารที่มีประโยชน์, ไม่รับประทานสัตว์เนื้อแดงหรืออาหารปิ้งย่างมากจนเกินไป, ไม่นอนดึกหรือเครียดเกินไป ก็จะทำให้เราสามารถป้องกันการเป็นโรคมะเร็งในอนาคตได้
โดย พญ.สุวรรณี ศิริวิมลานันท์
แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
Wellness & Anti Aging Center