Bangpakok Hospital

สารพิษโลหะหนัก เสี่ยงอัลไซเมอร์



โรคอัลไซเมอร์คืออะไร

โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่พบได้มากที่สุด เกิดจากโปรตีนที่ชื่อว่า เบต้าอะไมลอยด์ ไปจับกับเซลล์สมองทำให้เซลล์สมองฝ่อและเสื่อม โดยอาการแรกที่พบ คือ การสูญเสียความทรงจำในระยะสั้นแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น ลืมบทสนทนาหรือลืมทำกิจวัตรประจำวันบางอย่าง หากเป็นเยอะขึ้นผู้ป่วยอาจมีอาการหลงลืมมากขึ้น จนมีการสูญเสียความสามารถในการตัดสินใจ มีอารมณ์แปรปรวน อาจพบภาวะซึมเศร้าหรือมีอารมณ์ก้าวร้าวได้ มีพฤติกรรมการนอนหรือการกินที่เปลี่ยนแปลงไป เริ่มมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะสูญเสียแต่ความทรงจำในระยะสั้นเท่านั้น โดยจะไม่สูญเสียความทรงจำเก่า ๆ ในอดีตไป

โลหะหนักเกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์อย่างไร
โรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อม เกิดได้จากสาเหตุหลากหลายประการ แต่สาเหตุที่คนส่วนใหญ่ที่ถูกมองข้ามไป คือ สารพิษโลหะหนักที่สะสมในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น อะลูมิเนียม ตะกั่ว หรือแคดเมียม ซึ่งสารพิษโลหะหนักเหล่านี้ เมื่อสะสมที่เซลล์สมองก็ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้ โดยสามารถเข้าสู่ร่างกายเราได้หลายทาง ไม่ว่าจะเป็นปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำดื่ม ยาฆ่าแมลง หรือบรรจุภัณฑ์ที่เราใส่อาหารรับประทาน รวมถึงอาจปนเปื้อนมากับมลพิษทางอากาศ เช่น PM 2.5 ไปจนถึงน้ำยาย้อมผมและปนเปื้อนจากเครื่องสำอางที่เราใช้ 



เราจะป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างไร
เนื่องจากการสะสมของโลหะหนักเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ ดังนั้นแนะนำให้เราหมั่นตรวจสุขภาพ เพื่อหาระดับโลหะหนักที่สะสมในร่างกาย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และหากพบว่าเรามีระดับโลหะหนักที่สะสมในร่างกายสูง ควรได้รับการล้างสารพิษทางหลอดเลือดหรือ IV Chelation เพื่อกำจัดโลหะหนักออกจากร่างกาย นอกจากนั้นยังมีการให้วิตามินสูตรเฉพาะหลายสูตร ไม่ว่าจะเป็น IV Brain Booster, IV NAD+ หรือ IV MSC Therapy ที่จะช่วยส่งเสริมการทำงานและฟื้นฟูเซลล์สมองได้ โดยแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการก่อนเริ่มให้การบำบัดฟื้นฟู


โดย พญ.สุวรรณี ศิริวิมลานันท์
แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
Wellness & Anti Aging Center

Go to top