สารพิษปนเปื้อนจากภาชนะใส่อาหาร
รู้หรือไม่ ภาชนะที่เราใส่อาหารอยู่ทุกวันนี้อาจมีสารพิษโลหะหนักปนเปื้อนอยู่
ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป รวมทั้งจากเหตุการณ์โรคระบาดโควิด - 19 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้คนหันมาบริโภคอาหารที่รับประทานสะดวก หารับประทานง่าย เช่น อาหารแช่แข็งหรือสั่งอาหารผ่าน Delivery มากขึ้น แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ภาชนะที่เราใส่อาหารอยู่ทุก ๆ วันนี้ อาจจะมีสารพิษโลหะหนักปนเปื้อนอยู่โดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งโลหะหนักที่จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ได้แก่ ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม สารหนู อะลูมิเนียม เป็นต้น เมื่อโลหะหนักเหล่านี้สะสมในร่างกายเป็นระยะเวลานาน ๆ จะส่งผลทำให้เกิดโรคหรือความผิดปกติหลาย ๆ ระบบในร่างกายได้
ภาชนะที่อาจปนเปื้อนด้วยสารพิษโลหะหนักมีอะไรบ้าง
หม้อหรือภาชนะที่ผลิตจากอะลูมิเนียม เช่น เตาปิ้งย่าง อาจจะมีสารตะกั่ว สังกะสีหรืออะลูมิเนียม ปนเปื้อนออกมาจากการที่ผ่านความร้อนหรือใช้มาเป็นระยะเวลานาน ภาชนะที่ทำจากพลาสติก ที่เป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ก็อาจมีโลหะหนักเจือปนจากวัสดุที่ใช้ผลิตได้ หรือแม้กระทั่งภาชนะที่ทำจากโฟม กระดาษ หรือเครื่องปั้นดินเผา ก็อาจจะมีการปนเปื้อนของโลหะหนักได้
เราจะสามารถตรวจโลหะหนักที่สะสมในร่างกายเราได้หรือไม่
ปัจจุบันมีการตรวจ “Oligoscan” ซึ่งสามารถตรวจวัดระดับโลหะหนักที่สะสมในระดับเนื้อเยื่อของร่างกายได้ โดยตรวจได้จากการสแกนบริเวณฝ่ามือโดยใช้หลักการตรวจการสะท้อนกลับของแสง ซึ่งเป็นวิธีที่แม่นยำ ตรวจได้ถึงระดับเนื้อเยื่อ ตรวจระดับโลหะหนักที่สะสมมาเป็นระยะเวลานานได้ และเป็นวิธีที่ไม่เจ็บตัว ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีก็ทราบผลได้ทันที
เราจะสามารถกำจัดโลหะหนักออกจากร่างกายเราได้อย่างไร
โดย พญ.สุวรรณี ศิริวิมลานันท์
แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
Wellness & Anti Aging Center