โรคฮีทสโตรก ภัยอันตรายที่มาพร้อมหน้าร้อน
โรคลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heatstroke) คืออะไร ?
โรคลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heatstroke) เป็นโรคที่พบบ่อยในช่วงหน้าร้อน โดยเกิดจากการอยู่ท่ามกลางอากาศที่ร้อนมาก จนทำให้ภาวะร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้ทัน ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ หน้ามืด ชัก หัวใจเต้นผิดจังหวะ หายใจเร็ว หรือช็อก ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานหรือไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ภายใน 2 ชั่วโมง อาจส่งผลกระทบต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ หากได้รับการรักษาล่าช้าก็สามารถอันตรายถึงชีวิตได้
อาการของโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heatstroke)
- ตัวร้อนมากและร้อนขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้อุณหภมิในร่างกายสูงถึง 40 องศา
- ปวดศีรษะ หน้ามืด
- ไม่มีเหงื่อออก แต่รู้สึกกระหายน้ำมาก
- ความดันโลหิตต่ำ
- หายใจถี่ ชีพจรเต้นเร็ว
- อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน
- อาจมีอาการชัก เกร็ง และหมดสติ
คนกลุ่มไหนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคลมแดดได้บ้าง ?
- เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าคนกลุ่มอื่น
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
- ผู้ที่ทำงานหรือกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน เช่น ออกกำลังกาย เกษตรกร ผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้ง
- ผู้ที่น้ำหนักตัวเกินหรือมีภาวะอ้วน
- ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
- ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
วิธีป้องกันการเกิดโรคลมแดด หรือฮีทสโตรก (Heatstroke)
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งหรืออยู่ในพื้นที่ทีมีอากาศร้อนจัด
- สวมเสื้อผ้าที่มีสีอ่อน โปร่ง ไม่หนา และสามารถระบายควมร้อนได้ดีและป้องกันแสงแดดได้ดี
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ หรืออาหารที่มีน้ำตาลสูง
- จิบน้ำบ่อย ๆ ถึงแม้ว่าจะไม่กระหายน้ำ เพื่อเติมความชุ่มชื้นและลดอุณหภูมิของร่างกาย
- ทาครีมกันแดดหรือกางร่มเมื่ออยู่กลางแจ้ง
นอกจากวิธีดังกล่าวข้างต้นแล้ว ทางสถาบันสุขภาพและความงามตรัยญายังมีวิธีการฝังเข็มจากแพทย์ผู้ชำนาญการทางด้านแผนจีนที่สามารถช่วยปรับสมดุลเพื่อระบายความร้อน เพิ่มการไหลเวียนของเลือด เสริมสารน้ำและสารจำเป็นต่าง ๆ ให้กับร่างกายเพื่อเตรียมรับพลังธรรมชาติจากฤดูร้อน
Integrative Medicine Center