Bangpakok Hospital

เครียดมากไป ส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย



ความเครียด คืออะไร?

       ความเครียดเป็นภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดจากการเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ แล้วทำให้รู้สึกกดดัน ไม่สบายใจ หรือวิตกกังวล จนบางครั้งอาจทำให้เรารู้สึกเครียดหรือเกิดอาการเครียดสะสมโดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งแต่ละบุคคลจะแสดงความเครียดออกมาไม่เหมือนกัน บางคนแสดงออกทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และความรู้สึก เช่น บางคนหงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ หรือป่วยง่าย เป็นต้น จากอาการดังกล่าว อาจส่งผลเสียต่อสภาวะสมดุลของร่างกาย เช่น ปวดศึรษะ ปวดเมื่อย ท้องผูก นอนไม่หลับ และยังส่งผลต่อจิตใจได้อีกด้วย เช่น ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล เป็นต้น        

สาเหตุของความเครียด

  • สภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น มลภาวะ แหล่งที่อยู่อาศัย เสียง เป็นต้น
  • สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น การสอบ การทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน เป็นต้น
  • ลักษณะชีวิตประจำวัน ที่ส่งผลต่อความเครียด เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมาก นอนดึกสะสม รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ไม่ค่อยออกกำลังกาย เป็นต้น
  • ความรู้สึกที่อยากเอาชนะคนอื่นจนรูสึกต่ำต้อย
  • ต้องการมีอำนาจเหนือผู้อื่น
  • ผู้ที่มีอารมณ์รุนแรง ใจร้อน
  • ผู้ที่ชอบทำอะไรหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน
  • ผู้ที่ให้ความสำคัญกับความสมบูรณ์แบบหรือใฝ่ความสำเร็จ
 

อาการของความเครียด

  • ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ลำไส้ทำงานแปรปรวน มีปัญหาการย่อยอาหาร ท้องเสีย ท้องผูก
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย เช่น โกรธ หงุดหงิดง่าย ร้องไห้ง่าย อารมณ์ขึ้นลง
  • รู้สึกวิตกกังวล
  • อ่อนล้า ไม่อยากทำอะไร
  • ใจสั่นง่าย เหงื่อออกง่าย
  • ไม่มีสมาธิ
  • รู้สึกกดดันอยู่เสมอ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • รู้สึกซึมเศร้า

แนวทางการลดความเครียด

  • การออกกำลังกาย คลายเครียด
  • นั่งสมาธิ ฝึกจิต ลดเครียด
  • จัดสรรเวลาในชีวิตประจำวัน
  • ผ่อนคลายด้วยการทำกิจกรรมที่ชอบ
  • ปรับเปลี่ยนความคิด พยายามคิดในแง่บวก
  • จัดสิ่งแวดล้อมรอบตัวใหม่ เช่น การจัดโต๊ะ จัดบ้าน เพื่อลดความเบื่อหน่ายหรือจำเจ
  • ออกไปพบปะผู้คนหรือใช้เวลากับครอบครัวให้มากขึ้น ปรึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นบ้าง ก็สามารถช่วยลดความเครียดได้
โดย พญ.สุวรรณี ศิริวิมลานันท์
แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ
Wellness & Anti Aging Center
Go to top